ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ เว็บ blogger ของพวกเราค่ะ






เชิญผู้เข้าชมทุกท่าน ติชมได้ตามความเหมาะสมค่ะ (สงสัยใช่ไหม ทำไมให้เปิดดู เราทำบล็อกให้เธอเองละ)

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

ชื่อโครงงาน







ภาษาไทย)  การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่องระบบสุริยะ  
   (ภาษาอังกฤษ) The developent web site on solar system

คุณครูที่ปรึกษา  คุณครูลัดดาวัลย์  มามาตร

ชื่อผู้ทำโครงงาน
ด.ญ. รดา พรประสิทธิ์

การเกิดระบบสุริยะ


ระบบสุริยะ เป็นระบบทีมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและบริวารซึ่ง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 9 ดวง บริวารของดาวเคราะห์แต่ละดวง ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง อุกาบาต ตลอดจนฝุ่นละอองและแก๊สโคจรรอบดวงอาทิตย์
       โลกของเราซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร เมื่อสังเกตดาวบนท้องฟ้าโดยใช้โลกเป็นจุดอ้างอิงเราจะเรียกดาวเคราะห์ที่มีรัศมีวงโคจรอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ว่า"ดาวเคราะห์วงใน" ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ส่วนดาวเคราะห์ที่มีรัศมีวงโคจรใหญ่กว่วงโคจรรัศมีของโลกเรียกว่า "ดาวเคราะห์วงนอก" ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูนและดาวพลูโต เป็นต้น

ดวงอาทิตย์




                    ดวงอาทิตย์ เป็นเพียงดาวฤกษ์หนึ่งในพันล้านของดาวฤกกษ์ทั้งหมดที่มีอยู่ในดาราจักรแต่ดวงอาทิตย์มีความสำคัญกับสิ่งมีชีวิตมากกว่าดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ ถ้าปราศจากความร้อนและแสงสว่างจากดวงอาทิตย์สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ดวงอาทิตย์เป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์มีมวลสารมากกว่า 95เปอร์เซ็นต์ของงมวลสารทั้งหมดของระบบสุริยะ ส่วนมวลสารที่เหลือกลายเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ซึ่งประกอบด้วยดาวเคราะห์ 9 ดวง และดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ที่มากกว่า 60 ดวง ดาวเคราะห์น้อย ดาวหางและอุกาบาตอีกมากมาย

ดาวเคราะห์น้อย

                   
                    ดาวเคราะห์น้อย  เป็นก้อนวัตถุนับล้านชิ้นที่อยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี มีขนาดตั้งแต่ 2-3 เมตร ไปจนถึงร้อยกิโมตร ก้อนวัตถุเหล่านี้ไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่เหมือนดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ เนื่องจากถูกอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีดึงให้แยกออกจากกัน ดาวเคราะห์น้อยจะอยู่รวมกันเป็นแถบดาวเคราะห์น้อยโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยเป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นที่เหลือจากการเกิดดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

ดาวหาง


             ดาวหาง เป็นก้อนวัตถุอีกอย่างหนึ่งที่อาจเหลือจากการเกิดระบบสุริยะ ดาวหางประกอบไปด้วยก้อนน้ำแข็ง แก๊สและฝุ่นเคลื่อนตัวอยู่ภายใต้แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์
             นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าดาวหางมีต้นกำเนิดอยู่บริเวณเมฆ Oort เมื่อดาวหางเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ พลังความร้อนและสนามแม่เหล็กในลมสุริยะจากอาทิตย์จะผลักให้เศษฝุ่น และแก็สพุ่งในทิศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์

อุกาบาต

         

             อุกาบาต เป็นวัตถุที่ลอยอยู่ในระบบสุริยะมีขนาดเล็ก เมื่อเคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศของโลกจะถูกเผาไหม้กลายเป็นแสงวาบเป็นทางยาวบนท้องฟ้าเรียกว่า "ดาวตกหรือผีพุ่งไต้" ส่วนมากจะเผาไหม้หมดในชั้นบรรยากาศโลก ถ้ามีขนาดใหญ่มากอาจเหลือจากการเผาไหม้ตกลงสู่พื้นโลกกลายเป็นลูกอุกาบาตหรือสะเก็ดดาวตก

วิวัฒนาการของระบบสุริยะ

                 
                                   


              ดวงดาวบนท้องฟ้ามีอยู่มากมายมหาสาร แต่ถ้าจะแบ่งก็สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ  ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ ดาวต่างๆยังแบ่งเป็นกลุ่มๆด้วย แต่ละกลุ่มมีดาวเคราะห์และดาวฤกษ์รวมกัน สำหรับกลุ่มดาวที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อยโคจรอยู่รอบๆ เรียกว่า "ระบบสุริยะ"

อ้างอิง

           


            หนังสือโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ
            หนังสือวิทยาศาสตร์  ม.3
            หนังสือ ดาราศาสตร์ ม.4-6